วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ยาแอนตี้ไบโอติก-สเตียรอยด์...ยิ่งกินยิ่งป่วย

เมื่อเอ่ยถึงยาแอนตี้ไบโอติก หรือยาปฏิชีวนะ ในการรับรู้ของคนทั่วไปในปัจจุบัน เราจะนึกถึงยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบ แต่จริงๆแล้ว ยาประเภทนี้คือ ยาฆ่าเชื้อ

ยาจำพวกแอนตี้ไบโอติก หรือยาปฏิชีวนะได้รับการค้นพบโดยหลุยส์ ปลาสเตอร์-นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในทศวรรษที่ 1940 เป็นสารที่สร้างขึ้นและแยกได้จากจุลชีพชนิดหนึ่ง และออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเชื้อจุลชีพอีกกลุ่มหนึ่ง จุลชีพหรือเชื้อโรคนั้นๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และเชื้อปรสิต ยาตัวแรกที่มีการนำมาใช้คือ เพนนิซิลิน โดย 150 หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาตัวยามาอีกหลายขนานด้วยกัน

เราสามารถแบ่งประเภทของยาแอนตี้ไบโอติกตามการออกฤทธิ์ของยา คือ

  • แบบฆ่าหรือทำลายเชื้อ มักมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ และต่อเมมเบรนของแบคทีเรีย
  • แบบยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ มักมีกลไกในการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน ดังนั้นจึงต้องการระบบภูมิคุ้มกันมาเก็บเซลล์เม็ดเลือดกิน

โดยปกติหมอจะพิจารณาเลือกการใช้ยาแอนตี้ไบโอติกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา ด้วยปัจจัย 3 อย่างนี้คือ
  • เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคและอาการนั้นๆ ต้องค้นหาให้แน่ชัดว่าเกิดจากเชื้ออะไร สมควรใช้ยาแอนตี้ไบโอติกหรือไม่ ความเข้มข้นระดับใด แต่แพทย์บางสถานพยาบาลซึ่งขาดอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการอาจใช้การคาดคะเนชนิดของเชื้อตามสถิติที่พบ
  • ตัวยาแอนตี้ไบโอติก โดยต้องรู้ว่ายานั้นๆ มีการดูดซึม กระจายตัว การเปลี่ยนสภาพของยา และการขจัดยาอย่างไร แพทย์จะต้องรู้ว่าบริเวณที่ติดเชื้อต้องมีเชื้อสูงพอที่ยาจะออกฤทธิ์เพื่อทำลายเชื้อ ความไวของเชื้อโรคประเภทนั้นๆ นำไปสู่การจัดขนาดยา ความถี่ห่างในการให้ยา และระยะเวลาการให้ยาที่เหมาะสม
  • ตัวคนไข้ แพทย์ผู้สั่งยาต้องรู้สภาวะร่างกายของผู้ป่วย เพราะยาแอนตี้ไบโอติกต้องขจัดออกที่ไตและเปลี่ยนสภาพที่ตับ ซึ่งวัยทารกนั้นตับไตยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ส่วนผู้สูงอายุนั้น กลไกดังกล่าวมักเสื่อมประสิทธิภาพลง แพทย์ต้องพิจารณาปรับขนานยา
"เวลาป่วยด้วยอาการอื่นๆ ที่รุนแรงน้อยกว่า แบบที่เวลาเราไปหาหมอตามคลินิก หมอตรวจอาการเราและมั่นใจว่าคนไข้จะดีขึ้นภายใน 3 วัน อาจสั่งให้กินยาแอนตี้ไบโอติกสัก 5 วัน คือกินต่อไปอีกสัก 2-3 วันหลังจากอาการดีขึ้น จริงๆการใช้ยาแอนตี้ไบโอติกนั้น ถ้าใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล ถ้ามากไปก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้"
จำเป็นแค่ไหนต้องใช้ยาแอนตี้ไบโอติก
"ความจริงเกิดการติดเชื้อได้หลายสาเหตุ อาจจะด้วยภูมิคุ้มกันเราต่ำลง และเกิดจากบาดแผลทำให้ติดเชื้อได้"

ภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอิมมูนซิสเต็ม เมื่ออิมมูนซิสเต็มตก เชื้อโรคก็แพร่กระจายได้ดี แม้จะได้ยาแอนตี้ไบโอติกที่ได้จะถูกขนานถูกขนาด ในระยะเวลาที่แม่นยำขนาดไหนก็ตาม ทำให้อาการทุเลาลงอย่างเชื่องช้า และโอกาสที่เชื้อดื้อยาแอนตี้ไบโอติกจึงมีไม่น้อย และการกินยาแอนตี้ไบโอติกไปนานๆก็มีผลกระทบต่อตับและไตในระยะยาวได้

สเตียรอยด์...ยาครอบจักรวาล
สเตียรอยด์เป็นฮอร์โมนสำคัญซึ่งผลิตจากต่อมหมวกไต และตอนนี้มีบทบาทในการใช้รักษาโรคอย่างกว้างขวาง โดยจุดประสงค์หลักๆ ของแพทย์ที่ใช้ยาประเภทนี้คือ

  • เพื่อทดแทนระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ลดต่ำลง เนื่องจากต่อมพิทุอิทารี่และหมวกไตทำงานผิดปกติ
  • เพื่อหวังผลในการออกฤทธิ์ต้านอาการอักเสบในขณะทำการรักษา (เสริมฤทธิ์ของยาแอนตี้ไบโอติกที่ดื้อยา) ไม่ได้เป็นการรักษาที่สาเหตุของโรค จึงต้องใช้ปริมาณสูงและติดต่อกันเป็นเวลานาน
"ยาสเตียรอยด์จะเข้าไปยั้งสารที่ก่อให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน จึงเท่ากับเป็นยาแก้ที่ปลายเหตุของอาการเจ็บปวดทั้งหมด หรือถ้าจะว่าไปแล้ว ก็ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคนั่นเอง" เวลาเราไปหาคุณหมอแผนปัจจุบัน เขาจึงมักจะสั่งยาสเตียรอยด์ให้คนไข้ในกรณีที่ป่วยเป็น โรคภูมิแพ้นานาประเภท โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเลือด ภาวะสมองบวม (Cerebral Edema) โรคความผิดปกติของเนื้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen Disorders) โรคผิวหนัง โรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ โรคตับ โรคไต โรคของระบบทางเดินหายใจ โรคตา โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ในภาวะช็อค ใช้ลดระดับแคลเซียมในเลือด ใช้เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนชนิดนี้

ด้วยเพราะไม่ได้รักษาต้นเหตุ แต่ครอบคลุมนานาอาการ จึงทำให้สเตียรอยด์กลายเป็นยาที่เรียกว่า "ครอบจักรวาล" และมีเจือปนอยู่ในยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพรอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะปัจจุบันสเตียรอยด์เป็นยาที่กระทรวงสาธารณสุขออกกฎหมายควบคุมการซื้อขาย คนทั่วไปจะซื้อได้โดยมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น

อย่างไรก็ตามทั้ง 14 โรคที่กล่าวมานั้น หลายโรคในระยะที่ยังไม่ป่วยมาก อาจไม่จำเป็นต้องกินยาสเตียรอยด์ แค่ปรับเปลี่ยนชีวิตเพื่อเพิ่มอิมมูนซิสเต็มตามแนวทางชีวจิต อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง ไม่เชื่อลองติดตามอ่านประสบการณ์ของผู้ป่วย ข้อมูลต่างๆ ในนิตยสารชีวจิตได้

สเตียรอยด์...ทำลายทุกระบบ
ยาประเภทนี้ มีผลต่อระบบต่างๆในร่างกายมากมายคือ ต่อขบวนการเมตาบอลิซึ่ม ต่อปริมาณน้ำและเกลือแร่ ต่อระบบหมุนเวียนของเลือด ต่อระบบเม็ดเลือด ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ต่อระบบกล้ามเนื้อ โดยหากใช้ไปนานๆ จะมีอาการข้างเคียงคือ

  • การติดเชื้อ เพราะสเตียรอยด์ขนาดสูงมีผลต่อระบบอิมมูนซิสเต็ม นอกจากทำให้อิมมูนซิสเต็มต่ำลงแล้ว ยังบดบังอาการที่เกิดจากการติดเชื้อบางอย่าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ง่ายกว่าปกติ จึงมักพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว
  • กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน การใช้ยาขนาดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ระบบนี้ไม่สามารถทำงานปกติได้ เมื่อถึงคราวต้องหยุดยา
  • เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยาประเภทนี้ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลงและยับยั้งการส้รางเนื้อเยื่อใหม่มาทดแทน คนไข้ที่ใช้สเตียรอยด์อาจกระเพาะทะลุ มีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยไม่รู้สึกเจ็บปวดเลยก็ได้
  • มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ยาขนาดสูงอาจทำให้คนไข้รู้สึกเป็นสุขและติดการใช้ยาได้ หรือตรงกันข้าม บางรายอาจนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด
  • กระดูกผุ (Osteoporoxis) ต้องระวังมากในการใช้กับผู้สูงวัย
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย การใช้ยาประเภทนี้ในเด็กจะทำให้เจ้าตัวน้อยไม่เติบโตสมวัย
  • อาการบวม สเตียรอยด์ชนิดสังเคราะห์ทำให้เกิดภาวะคั่งน้ำและเกลือแร่ขึ้น
  • ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ เพราะระหว่างกินยา จะทำให้เสียเกลือโปแตสเซียมทางปัสสาวะมาก ในรายที่ต่ำมากอาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้
  • ทำให้กล้ามเนื้อเปลี้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • มีผลต่อดวงตา ในกรณีที่ใช้สเตียรอยด์ในรูปของยาหลอดตา จะทำให้ความดันลูกตาสูง มีโอกาสติดเชื้อง่าย
  • มีผลต่อผิวหนัง ส่วนในรูปของยาทาภายนอก จะทำให้ผิวหนังบาง เป็นรอยแตก บางรายทำให้เกิดสิวได้ด้วย
  • เกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่น ใบหน้าอ้วนกลม มีไขมันบริเวณหัวไหล่ลักษณะเป็นหนอก ปวดหรือเวียนศีรษะ ความดันสูง ตับโต ไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง
ที่มา : http://www.cheewajit.com 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น